ค้นหาคำศัพท์แบบเร่งด่วน


 

  • ความหมายของคำว่า ' สิกข์, สิข '

    สิกข์, สิข  หมายถึง น. ชื่อศาสนาหนึ่งในอินเดีย มีศาสดาชื่อ คุรุนานัก; ชื่อชาวอินเดียพวกหนึ่งที่นับถือศาสนาสิกข์ ส่วนมากอยู่ในแคว้นปัญจาป ประเทศอินเดีย; ซิก หรือ ซิกข์ ก็ว่า.

advertisement

 

คำที่ใกล้เคียงกัน

  • สิกข์, สิข

    น. ชื่อศาสนาหนึ่งในอินเดีย มีศาสดาชื่อ คุรุนานัก; ชื่อชาวอินเดียพวกหนึ่งที่นับถือศาสนาสิกข์ ส่วนมากอยู่ในแคว้นปัญจาป ประเทศอินเดีย; ซิก หรือ ซิกข์ ก็ว่า.

  • สิกขมานา

    (โบ) น. สามเณรีที่มีอายุครบ ๑๘ ปี ก่อนอุปสมบทเป็นภิกษุณีจะต้องรักษาสิกขาบท ๖ ประการ เป็นเวลา ๒ ปี.(ป.).

  • สิกขา

    น. ข้อที่จะต้องศึกษา, ข้อที่จะต้องปฏิบัติ ได้แก่ ศีล เรียกว่าศีลสิกขา สมาธิ เรียกว่า จิตสิกขา และปัญญา เรียกว่าปัญญาสิกขา รวมเรียกว่า ไตรสิกขา; การศึกษา, การเล่าเรียน, เช่น ปริยัติสิกขา ปฏิบัติสิกขา. (ป.; ส. ศิกฺษา).

  • สิกขากาม–

    [–กามะ–] ว. ผู้ใคร่ต่อการศึกษา, ผู้นับถือข้อบัญญัติโดยเคร่งครัด, สิกขกาม ก็ว่า เช่น สิกขกามบุคคล หมายถึงบุคคลที่ใคร่ต่อการศึกษา. (ป.).

  • สิกขาบท

    น. ข้อศีล, ข้อวินัย, บทบัญญัติในพระวินัยที่พึงศึกษาปฏิบัติ. (ป.).

  • สิขร

    [–ขอน] น. จอม, ยอด, หงอน; ยอดเขา. (ป.; ส. ศิขร).

  • สิขรี

    [–ขะรี] น. ภูเขา. (ป.; ส. ศิขรินฺ).

 


พจนานุกรมไทย-ไทย ออนไลน์

จุดประสงค์ของเว็บ เพื่อสนับสนุนการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องตามความหมายของแต่ละคำ ขอบคุณข้อมูลจาก พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒